Logo
thubnail
เทศกาลกีฬา
เล่นเป็นทีม
มัธยมต้น 7
วิทยาศาสตร์
สารบริสุทธิ์และสารผสม ม.1
มาลัย นามวงษ์
623
6
ปัญหาที่เพิ่มเข้ามา (20/ 20)
อนุญาตให้คำตอบที่ไม่ถูกต้อง
ซ่อนคำตอบ
public quiz

ปัญหา 1

เลือกประเภท

ข้อใดต่อไปนี้แสดงลักษณะของสารบริสุทธิ์ได้ถูกต้อง

  • เปลี่ยนสถานะได้หลายอุณหภูมิ
  • มีสี กลิ่น และรสเหมือนกันเสมอ
  • มีจุดหลอมเหลวแปรผันตามเวลา
  • มีจุดหลอมเหลวและจุดเดือดคงที่

ปัญหา 2

เลือกประเภท

ข้อใดกล่าวถูกต้องเกี่ยวกับสารผสม

  • มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวไม่คงที่
  • มีจุดเดือดและจุดหลอมเหลวคงที่
  • เกิดการเปลี่ยนสถานะทันที
  • ไม่สามารถใช้กราฟอุณหภูมิเปรียบเทียบได้

ปัญหา 3

เลือกประเภท

สารใดต่อไปนี้เป็นสารผสม

  • น้ำเกลือ
  • น้ำบริสุทธิ์
  • ทองแดงแท้
  • ออกซิเจน

ปัญหา 4

เลือกประเภท

ข้อใดเป็นสารบริสุทธิ์ สาร A จุดเดือด 100 °C สาร B จุดเดือด 95–110 °C

  • สาร A
  • สาร B
  • ทั้ง A และ B
  • ไม่มีข้อใดถูก

ปัญหา 5

เลือกประเภท

นักเรียนสังเกตการทดลองหลอมแข็งสารหนึ่ง พบว่าอุณหภูมิเปลี่ยนจาก 80°C เป็น 70°C ระหว่างการแข็งตัว ข้อสรุปใดถูกต้อง

  • สารนั้นเป็นสารผสม
  • สารนั้นเป็นสารบริสุทธิ์
  • สารนั้นเป็นของเหลว
  • ไม่สามารถสรุปได้

ปัญหา 6

เลือกประเภท

หากกราฟแสดงว่าอุณหภูมิคงที่ที่ 0°C ระหว่างเปลี่ยนสถานะ สารนั้นน่าจะเป็น

  • น้ำแข็งบริสุทธิ์
  • น้ำเกลือ
  • อากาศ
  • นม

ปัญหา 7

เลือกประเภท

สารบริสุทธิ์คือสารที่มีองค์ประกอบทางเคมีเป็นอย่างไร

  • เหมือนกัน
  • มากกว่า 2 ชนิด
  • เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
  • ไม่แน่นอน

ปัญหา 8

เลือกประเภท

สารใดต่อไปนี้เป็นสารผสม

  • น้ำเชื่อม
  • เหล็กบริสุทธิ์
  • น้ำตาลกลูโคส
  • ซิลิคอนบริสุทธิ์

ปัญหา 9

เลือกประเภท

จุดเดือดของน้ำบริสุทธิ์ที่ความดันปกติคือ

  • 100°C
  • 0°C
  • 50°C
  • 25°C

ปัญหา 10

เลือกประเภท

ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับความหนาแน่นของสารบริสุทธิ์

  • มีค่าคงที่ไม่เปลี่ยนแปลง
  • เปลี่ยนไปตามปริมาตร
  • เปลี่ยนแปลงตามสีของสาร
  • ขึ้นกับขนาดของภาชนะ

ปัญหา 11

เลือกประเภท

ความหนาแน่นของสารผสมเมื่อเทียบกับสารบริสุทธิ์จะเป็นอย่างไร

  • อาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นกับส่วนผสม
  • เท่ากันเสมอ
  • สูงกว่าสารบริสุทธิ์เสมอ
  • ต่ำกว่าสารบริสุทธิ์เสมอ

ปัญหา 12

เลือกประเภท

ถ้าน้ำบริสุทธิ์มีความหนาแน่น 1 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร น้ำเกลือจะมีความหนาแน่นอย่างไร

  • มากกว่า 1 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
  • น้อยกว่า 1 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
  • เท่ากับ 1 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร
  • ไม่มีความหนาแน่น

ปัญหา 13

เลือกประเภท

ถ้าวัสดุ A หนักกว่า B แต่ปริมาตรเท่ากัน วัสดุใดมีความหนาแน่นมากกว่า

  • วัสดุ A
  • วัสดุ B
  • เท่ากัน
  • ไม่สามารถบอกได้

ปัญหา 14

เลือกประเภท

หากต้องการคำนวณหาปริมาตรของวัตถุ A จะใช้สูตรใดในการคำนวณ

  • V = M ÷ D
  • D = M ÷ V
  • V = D ÷ M
  • D = M ÷ V

ปัญหา 15

เลือกประเภท

ข้อใดไม่ใช่หน่วยของความหนาแน่น

  • มิลลิลิตร/กรัม (ml/g)
  • กรัม/มิลลิลิตร (g/ml)
  • กิโลกรัม/ลูกบาศก์เมตร (kg/m3)
  • กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร (g/cm3)

ปัญหา 16

เลือกประเภท

การเปรียบเทียบสมบัติของสารบริสุทธิ์และสารผสม ใช้เกณฑ์ใดต่อไปนี้

  • จุดเดือด จุดหลอมเหลว ความหนาแน่น
  • การเกิดแก๊ส
  • สีของสาร
  • กลิ่นของสาร

ปัญหา 17

คำตอบสั้น

วัตถุ A มีมวล 200 กรัม ปริมาตร 200 cm³ จะมีความหนาแน่นเท่าใด

  • 1

ปัญหา 18

คำตอบสั้น

วัตถุ B มีความหนาแน่น 2 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร ปริมาตร 100 cm³ จะมีมวลเท่าใด

  • 200

ปัญหา 19

คำตอบสั้น

วัตถุ C มีปริมาตร 10 cm³ มีมวล 100 กรัม จะมีความหนาแน่นเท่าใด

  • 10

ปัญหา 20

คำตอบสั้น

วัตถุ D มีความหนาแน่น 5 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร มวล 10 กรัม จะมีปริมาตรเท่าใด

  • 2

การแชร์ Google Classroom