Logo
thubnail
ห้องเรียน
เรียงลำดับ
มัธยมปลาย 10
อื่น ๆ

CPR

Nantikan Boont
12
ปัญหาที่เพิ่มเข้ามา (20/ 20)
อนุญาตให้คำตอบที่ไม่ถูกต้อง
แสดงคำตอบ
public quiz

ปัญหา 1

เลือกประเภท

1.ผู้ป่วยในข้อใดที่มีอาการทางเดินหายใจอุดกั้นจากสิ่งแปลกปลอมแบบรุนแรง ( complete airway obstruction)

  • 1. นาย ก ตะโกนร้องเสียงดังขอให้คนช่วย
  • 2. นาย ข ไอและสำลักตลอดเวลา
  • 3. นาย ค ใบหน้าเขียวคล้ำร้องไม่มี
  • 4. นาย ง หายใจหอบมีเสียงหวีด

ปัญหา 2

เลือกประเภท

หากมีอาหารติดคอและอยู่คนเดียว ไม่สามารถไอหรือหายใจ ควรใช้ของอะไรช่วยกระทุ้งตัวเอง?

  • ฟูกที่นอน
  • ราวตากผ้า
  • เก้าอี้
  • พัดลม

ปัญหา 3

เลือกประเภท

2.ข้อใดคือวิธีปฐมพยาบาลที่ถูกต้องในผู้ป่วยที่มีอาการทางเดินหายใจอุดกั้นแบบบางส่วน

  • 1. พยายามให้ผู้ป่วยไอแรงๆ
  • 2. พยายามใช้นิ้วมือล้วงหยิบสิ่งแปลกปลอมออกมา
  • 3. ให้ผู้ป่วยกระโดดเพื่อให้สิ่งแปลกปลอมไหลลงสู่กระเพาะอาหาร
  • 4. ให้ผู้ป่วยนอนตะแคงนิ่งๆ รอความช่วยเหลือจากทีมแพทย์

ปัญหา 4

เลือกประเภท

4. ปัจจุบันศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการจังหวัดศรีสะเกษตั้งอยู่ที่ใด

  • 1. ศาลากลางจังหวัด
  • 2. องค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ
  • 3. โรงพยาบาลศรีสะเกษ
  • 4. สถานีตำรวจภูธรเมืองศรีสะเกษ

ปัญหา 5

เลือกประเภท

5. เบอร์โทรฉุกเฉินที่ใช้ในการแจ้งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉินคือหมายเลขใด

  • 1. 1669
  • 2. 1996
  • 3. 191
  • 4. 199

ปัญหา 6

เลือกประเภท

6. ในการปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะทางเดินหายใจอุดกั้นจากสิ่งแปลกปลอมแบบรุนแรง ( Complete airway obstruction ) ในผู้ใหญ่ ใช้วิธีใดต่อไปนี้

  • 1.กดหน้าอก
  • 2. ทุบหลัง 5 ครั้ง เเละกดหน้าอก 5 ครั้ง
  • 3.อุ้มผู้ป่วยพาดบ่า เเล้วกระโดด
  • 4. กระทุ้งบริเวณใต้ลิ้นปี่ของผู้ป่วย

ปัญหา 7

เลือกประเภท

7.ในผู้ป่วยทางเดินหายใจอุดกั้น หากการกระทุ้งไม่สำเร็จ ผู้ป่วยหมดสติไม่หายใจ ควรให้การช่วยเหลืออย่างไร

  • 1.กดหน้าอก
  • 2. ทุบหลัง 5 ครั้ง เเละกดหน้าอก 5 ครั้ง
  • 3.อุ้มผู้ป่วยพาดบ่า เเล้วกระโดด
  • 4. กระทุ้งบริเวณใต้ลิ้นปี่ของผู้ป่วย

ปัญหา 8

เลือกประเภท

8. ห่วงโซ่การรอดชีวิตนอกโรงพยาบาล ( chain of survival ) มีกี่ห่วง

  • 1. 3 ห่วง
  • 2. 4 ห่วง
  • 3. 5 ห่วง
  • 6. 6 ห่วง

ปัญหา 9

เลือกประเภท

9. การทำ CPR จะทำเมื่อใด

  • 1. ผู้ป่วยสำลักอาหาร หรือมีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ
  • 2. ผู้ป่วยหมดสติ ไม่หายใจ
  • 3. ผู้ป่วยหมดสติ หายใจได้ปกติ
  • 4. ผู้ป่วยชักเกร็ง

ปัญหา 10

เลือกประเภท

10. ในการเข้าช่วยเหลือผู้ป่วยที่หมดสติ ควรประเมินสิ่งใดเป็นลำดับแรก

  • 1. ประเมินการหายใจของผู้ป่วย
  • 2. ประเมินความปลอดภัยของสถานการณ์
  • 3. ประเมินระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย
  • 4. ประเมินระยะทางจากจุดเกิดเหตุไปโรงพยาบาล

ปัญหา 11

เลือกประเภท

11. หากท่านกำลังเดินเล่นในสวนสาธารณะแล้วพบชาย อายุประมาณ 60 ปีล้มลงต่อหน้าท่าน บริเวณนั้นไม่มีไฟฟ้ารั่ว ไม่มีสุนัข ท่านจะให้การช่วยเหลือใดเป็นลำดับแรก

  • 1. กดหน้าอก
  • 2. ช่วยหายใจ
  • 3. โทร 1669
  • 4. ประเมินระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย

ปัญหา 12

เลือกประเภท

12. การประเมินระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วยที่หมดสติ สามารถทำได้โดยวิธีใด

  • 1. ใช้มือไปอังบริเวณจมูกของผู้ป่วย
  • 2. ใช้มือคลำดูการขยับของหน้าท้องผู้ป่วย
  • 3. ใช้มือตบไปที่ไหล่ของผู้ป่วยทั้งสองข้าง พร้อมปลุกเรียก
  • 4. เขย่าตัวผู้ป่วยอย่างแรง

ปัญหา 13

เลือกประเภท

13. หากท่านพบผู้ป่วยหมดสติ ไม่หายใจ หากท่านโทร 1669 นอกจากข้อมูลผู้ป่วยแล้ว ควรแจ้งให้ทีมแพทย์นำสิ่งใดมาด้วย

  • 1.เครื่อง AED
  • 2.เครื่องกดหน้าอกอัตโนมัติ
  • 3.เครื่องวัดความดันโลหิต
  • 4.เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด

ปัญหา 14

เลือกประเภท

14. ในการโทรแจ้งเหตุเจ็บป่วยฉุกเฉิน 1669 ข้อใดไม่ใช่ข้อคำถามสำคัญ

  • 1. ระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย
  • 2. สิทธิการรักษาของผู้ป่วย
  • 3. สถานที่เกิดเหตุ
  • 4. ชื่อและเบอร์โทรผู้แจ้ง

ปัญหา 15

เลือกประเภท

15. การกดหน้าอกในผู้ใหญ่ ใช้บริเวณใดของมือในการกด

  • 1. ใช้ทั้งฝ่ามือ
  • 2. ใช้ปลายนิ้วมือ
  • 3. ใช้ส้นมือ
  • 4. ใช้สันมือ

ปัญหา 16

เลือกประเภท

16. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับท่าในการกดหน้าอก

  • 1. เข่าทั้งสองข้างชิดติดกัน
  • 2. แขนเหยียดตรง ไม่งอศอก
  • 3. กดลงในแนวเฉียง 45° ไปทางด้านซ้ายของผู้ป่วย
  • 4. กดลงในแนวเฉียง 45° ไปทางด้านขวาของผู้ป่วย

ปัญหา 17

เลือกประเภท

17. การกดหน้าอกอย่างมีประสิทธิภาพ ( Hign quality cpr ) ควรกดลึกเท่าไร

  • 1. 2-2.4 เซนติเมตร
  • 2. 5-6 เซนติเมตร
  • 3. 5-6 นิ้ว
  • 4. ลึกมากกว่า 6 นิ้ว

ปัญหา 18

เลือกประเภท

18. การกดหน้าอกอย่างมีประสิทธิภาพ ( Hign quality cpr ) ควรกดด้วยความเร็วเท่าไร

  • 1. 60-80 ครั้งต่อนาที
  • 2. 80-100 ครั้งต่อนาที
  • 3. 100-120 ครั้งต่อนาที
  • 4. 120-140 ครั้งต่อนาที

ปัญหา 19

เลือกประเภท

19. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำ CPR ในผู้ใหญ่

  • 1.ทำการกดหน้าอก 30 ครั้ง สลับกับช่วยหายใจ 2 ครั้ง
  • 2.เปลี่ยนคนกดหน้าอกเมื่อกดหน้าอกครบ 30 ครั้ง
  • 3. เปลี่ยนคนกดหน้าอกทุก 2 นาที
  • 4. เปลี่ยนคนกดหน้าอกเมื่อเหนื่อย ทำต่อไม่ไหว

ปัญหา 20

เลือกประเภท

20. ข้อใดไม่ใช่เหตุผลในการหยุดทำ CPR

  • 1. เมื่อผู้ป่วยกลับมามีชีพจร กะพริบตา ดิ้น มีการหายใจ
  • 2. ทีมแพทย์ฉุกเฉินมาถึงแล้วให้การช่วยเหลือต่อ
  • 3. เหนื่อยมากจนทำ CPR ต่อไม่ไหว
  • 4. เมื่อรู้สึกว่ากระดูกซี่โครงของผู้ป่วยหัก
การแชร์ Google Classroom