Logo
thubnail
ห้องเรียน
เรียงลำดับ
ภาษาไทย

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน ม.๑

วรพิชชา สายทอง
102
0
ปัญหาที่เพิ่มเข้ามา (10/ 20)
อนุญาตให้คำตอบที่ไม่ถูกต้อง
ซ่อนคำตอบ
public quiz

ปัญหา 1

เลือกประเภท

ผู้พระราชนิพนธ์กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานคือใคร

  • พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
  • รัชกาลที่ ๓
  • รัชกาลที่ ๑
  • สุนทรภู่

ปัญหา 2

เลือกประเภท

จุดมุ่งหมายของการแต่งเรื่องกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานคือข้อใด

  • เป็นบทเห่ชมเรือกระบวน ชมธรรมชาติ
  • เป็นการพรรณนาเกี่ยวกับอาหารที่บรรจงปรุงอย่างถึงเครื่องถึงรส
  • ใช้ประกอบในพระราชพิธีที่พระมหากษัตริย์เสร็จทางชลมารค
  • แสดงให้ให้ถึงความรักความกล้าหาญ

ปัญหา 3

เลือกประเภท

จากเรื่องกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานสะท้อนฝีมือการปรุงอาหารของใคร

  • ธิดาของพระเจ้าฝรั่งมังฆ้อง
  • รัชกาลที่ ๓
  • สุนทรภู่
  • สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี

ปัญหา 4

เลือกประเภท

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานใช้คำประพันธ์กี่ชนิด อะไรบ้าง

  • 1 ชนิด คือ โคลงสีสุภาพ
  • 2 ชนิด คือ กาพย์ยานี 11 และ กาพย์สุรางคนาง28
  • 2 ชนิด คือ โคลงสี่สุภาพ และกาพย์ยานี11
  • 1 ชนิด คือ กาพย์ยานี 11

ปัญหา 5

เลือกประเภท

กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวานขึ้นต้นด้วยโคลงสี่สุภาพกี่บท

  • ๑ บท
  • ๒ บท
  • ๓ บท
  • ๔ บท

ปัญหา 6

เลือกประเภท

จากรูป เป็นอาหารชนิดใดจากเรื่องกาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน

  • หรุ่ม
  • ล่าเตียง
  • ยำใหญ่
  • มัสมั่น

ปัญหา 7

เลือกประเภท

คำประพันธ์ในข้อใด มิได้มีการกล่าวถึงนางอันเป็นที่รัก

  • ล่าเตียงติดเตียงน้อง นอนเตียงทองทำเมืองบน ลดหลั่นชั้นชอบกล ยลยากนิทรคิดแนบนอน
  • รังนกนึ่งน่าซด โอชารสกว่าทั้งปวง นกพรากจากรังรวง เหมือนเรียมร้างห่างห้องหวน
  • มัสมั่นแกงแก้วตา หอมยี่หร่ารสร้อนแรง ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา
  • ยำใหญ่ใส่สารพัด วางจานจัดหลายเหลือตรา รสดีด้วยน้ำปลา ญี่ปุ่นล้ำย้ำยวนใจ

ปัญหา 8

เลือกประเภท

ในคำประพันธ์กล่าวว่า เครื่องเคียงข้อใด ที่ควรกินกับหมูแนม

  • แตงกวา โหระพา
  • พริกสด ใบทองหลาง
  • พริกแห้ง กระเทียม
  • หัวหอม กะหล่ำ

ปัญหา 9

เลือกประเภท

“ก้อยกุ้งปรุงประทิ่น วางถึงลิ้นดิ้นแดโดย รสทิพย์หยิบมาโปรย ฤาจะเปรียบเทียบทันขวัญ” ข้อใดคือความหมายของคำว่า "ประทิ่น"

  • กลิ่นหอม
  • สวยงาม
  • รสชาติอร่อย
  • สีสด

ปัญหา 10

เลือกประเภท

ข้อใดแบ่งวรรคการอ่านกาพย์ได้ถูกต้อง

  • ยำใหญ่/ใส่สารพัด วางจานจัด/หลายเหลือตรา รสดี/ด้วยน้ำปลา ญี่ปุ่นล้ำ/ย้ำยวนใจ
  • ก้อยกุ้ง/ปรุงประทิ่น วาง/ถึงลิ้น/ดิ้นแดโดย รสทิพย์/หยิบ/มาโปรย ฤาจะเปรียบ/เทียบทันขวัญ
  • เหลือรู้หมู/ป่าต้ม แกงคั่วส้ม/ใส่ระกำ รอยแจ้ง/แห่งความขำ ช้ำทรวงเศร้า/เจ้าตรากตรอม
  • เครื่องหุง/ปรุงอย่างเทศ รสพิเศษ/ใส่ลูกเอ็น ใครหุง/ปรุงไม่เป็น เช่นเชิง/มิตร/ประดิษฐ์ทำ
การแชร์ Google Classroom