Logo
thubnail
ห้องหนีภัยในโรงเรียน
เล่นอิสระ
วรรณกรรม

โคลงสุภาษิตนฤทุมมนาการ ม.2

Rattana Keawau
23
0
ปัญหาที่เพิ่มเข้ามา (10/ 20)
อนุญาตให้คำตอบที่ไม่ถูกต้อง
ซ่อนคำตอบ
public quiz

ปัญหา 1

เลือกประเภท

ผู้แต่งโคลงสุภาษิตนฤทุมมนาการคือใคร

  • พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเกล้าอยู่หัว
  • พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
  • พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช

ปัญหา 2

เลือกประเภท

โคลงสุภาษิตนฤทุมมนาการผู้แต่งได้แปลมาจากภาษาใด

  • เขมร
  • บาลี-สันสกฤต
  • อังกฤษ
  • ฝรั่งเศส

ปัญหา 3

เลือกประเภท

ข้อใดกล่าวถึงสุภาษิตนฤทุมนาการไม่ถูกต้อง

  • นฤทุมนาการ แปลว่า สภาพที่ปราศจากความเสียใจ
  • เนื้อหาของสุภาษิตนี้เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนปฏิบัติได้
  • สุภาษิตนี้กล่าวถึงการปฏิบัติกิจ ๑๐ ประการ
  • สุภาษิตนี้แต่งเป็นโคลง และมีร่ายนํา ๑ บท

ปัญหา 4

เลือกประเภท

จาก “ ทศนฤทุมนการ ” ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง

  • ทศ = ๑๐
  • นฤ = มี
  • ทุมน = ความเสียใจ
  • อาการ = สภาพ , อาการ

ปัญหา 5

เลือกประเภท

สุภาษิตนฤทุมนาการแต่งด้วยคําประพันธ์ ประเภทใด

  • โคลงสองสุภาพ
  • โคลงสามสุภาพ
  • โคลงสี่สุภาพ
  • โคลงกระทู้

ปัญหา 6

เลือกประเภท

การปฏิบัติตามข้อใดจะทําให้เป็นคนใจเย็น

  • คิดเสียก่อนจึงพูด
  • งดพูดในเวลาโกรธ
  • อดกลั้นต่อผู้อื่น
  • ไม่หลงเชื่อข่าวร้าย

ปัญหา 7

เลือกประเภท

การประพฤติในข้อใดจะช่วยลดความทิฐิลงได้

  • ขอโทษเพื่อคารวะ วายบาด หมางแฮ
  • สามารถอาจห้ามงด วาจา ตนเฮย
  • ทําดีไป่เลือกเว้น ผู้ใด ใดเฮย
  • เหินห่างโมหะร้อน ริษยา

ปัญหา 8

เลือกประเภท

เหินห่างโมหะร้อน ริษยา สละส่อเสียดมารษา ใส่ร้าย คําหยาบจาบจ้วงอา - ฆาตขู่ เข็ญเฮย ไป่หมิ่นนินทาบ้าย โทษให้ผู้ใด โคลงบทนี้สอนในเรื่องใดเป็นสําคัญ

  • ให้มีความอดทนอดกลั้น
  • ให้มีวิจารณญาณในการรับฟัง
  • ไม่ควรหลงเชื่อคําข่าวลือ
  • ไม่ควรพูดร้ายต่อใคร

ปัญหา 9

เลือกประเภท

คําประพันธในข้อใดไม่มีการใช้คําที่มีความหมายว่า “ไม่”

  • อีกหนึ่งไป่เชื่อถ้อย คําคน ลือแฮ
  • กรุณานรชาติผู้พ้องภัย พิบัติเฮย
  • ยังบ่ลงเห็นไป เด็ดด้วน
  • ไร้ศัตรูปองมล้าง กลับซ้องสรรเสริญ

ปัญหา 10

เลือกประเภท

ไป่ฟังคนพูดฟุ้ง ฟั่นเฝือ เท็จและจริงจานเจือ คละเคล้า คําว่า "พูดฟุ้งฟั่นเฝือ" หมายถึงข้อใด

  • คนพูดมาก
  • คนพูดไร้สาระ
  • คนพูดคล่อง
  • คนพูดจามีเหตุผล
การแชร์ Google Classroom